เรือพระราชพิธี

Release Date : 20-12-2021 09:30:33
เรือพระราชพิธี

เรือพระราชพิธี

 

    

ประวัติพระราชพิธี
การเสด็จพระราชดำเนิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค
 

             

   ในยุคแรกเริ่ม ของกระบวนเรือ การเสด็จ พระราชดำเนิน ของพระมหากษัตริย์ไทย นับแต่ โบราณกาลมา นอกจาก การเสด็จพระราช ดำเนิน ทางบก ที่เรียกว่า "พยุหยาตราสถลมารค " แล้ว การเสด็จ พระราชดำเนิน ทางน้ำ คือ "พยุหยาตราชลมารค " ก็เป็น เส้นทางคมนาคม ที่สำคัญ ยิ่งเช่นกัน ตั้งแต่ครั้งสมัย สุโขทัย เป็นราชธานี ปรากฎว่า พระร่วง ทรงเรือออกไป ลอยกระทง หรือ พิธีจองเปรียง ณ กลางสระน้ำ พร้อมทั้ง เผาเทียน เล่นไฟ ในยามคืนเพ็ญ เดือนสิบสอง ครั้นต่อมา ถึงสมัย อยุธยา เป็น ราชธานี ซึ่งเป็น เมืองเกาะ ที่ล้อมรอบ ไปด้วย แม่น้ำลำคลอง มากมาย หลายสายชีวิต ความเป็นอยู่ ริมน้ำ ของชาวกรุงเก่า จึงต้อง อาศัยเรือ ในการ สัญจรไปมา รวมทั้ง ในเวลา การรบทัพ จับศึก ก็จะใช้ กระบวน ทัพเรือ เป็นสำคัญ จึงปรากฎว่า มีการสร้าง เรือรบ มากมาย ในสมัย กรุงศรีอยุธยา

                ในเวลา บ้านเมือง ปราศจาก ศึกสงคราม ได้ใช้เรือรบ ฝึกซ้อม กระบวนยุทธ์ กันเป็นนิจ เพราะฉะนั้น เมืองถึง ฤดูน้ำหลาก อันเป็น เวลาที่ ราษฎร ว่างจาก การทำนา จึงเรียก ระดมพล มาฝึกซ้อม กระบวนทัพเรือ โดยอาศัย ฤดูกาล ประจวบกับ การทอดกฐิน พระเจ้าแผ่นดิน จึงเสด็จ พระราชดำเนิน ไปถวาย พระกฐิน โดยกระบวนเรือรบ แห่แหน เพื่อให้ ไพร่พล ได้รื่นเริง ในการกุศล จึงจัดเป็น ประเพณี ที่แห่เสด็จกฐิน โดยกระบวน เรือยาว สืบมา จนทุกวันนี้
   ในขณะเดียวกัน ยามบ้านเมือง สุขสงบ ว่างเว้น จากการงาน ชาวกรุงศรีอยุธยา ก็หันมาเล่น เพลงเรือ แข่งเรือกัน อย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะ พระเจ้าแผ่นดิน กรุงสยาม สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อจะเสด็จ แปรพระราชฐาน ไปยัง หัวเมือง ต่าง ๆ จะมี กระบวนเรือ เพชรพวง ซึ่งเป็นริ้ว กระบวน ที่ใหญ่มาก จัดออกเป็น ๔ สาย และริ้วเรือ พระที่นั่ง ตรงกลาง อีก ๑ สาย ใช้เรือทั้งสิ้น ไม่น้อยกว่า ร้อยลำ ระหว่าง การเคลื่อน กระบวน พยุหยาตรา ก็มีการเห่เรือ พร้อมเครื่องประโคม จนเกิดเป็น วรรณกรรม ร้อยกรอง ที่ไพเราะยิ่ง คือ "กาพย์เห่เรือ" ซึ่งพระเจ้า ธรรมาธิเบศร์ ในสมัย พระเจ้าบรมโกศ ตอนปลาย กรุงศรีอยุธยา ซึ่งบรรยายถึง ความงดงาม และลักษณะของเรือ ในกระบวน พยุหยาตราชลมารค ในครั้งนั้น และ บทเห่เรือนี้ ก็ได้กลาย เป็นแม่แบบ ของการแต่งกาพย์ เห่เรือ จนเท่า ทุกวันนี้